ช่วงนี้หลายจังหวัดในภาคใต้เกิดน้ำท่วม ซึ่งวันนี้ผู้เขียนก็มีโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วมมาบอกกล่าวเพื่อให้ผู้ที่ใส่ใจสุขภาพได้รู้เท่าทันและนำไปปฏิบัติกันได้ เพื่อสุขภาพที่ดี ไม่มีโรค!
โรคตาแดง
โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่ถ้าไม่รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
ติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้แก่ การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา น้ำมูกของผู้ป่วย หรือจากใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หรือจากแมลงวันแมลงหวี่ตอมตา
หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปตาอีกข้าง
ผู้ป่วยมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ถูกวิธี อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ ทำให้ปวดตา ตามัว
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อจากการสบตา จ้องตา ไม่ติดต่อทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน
การศึกษาระบาดวิทยาโมเลกุล พบว่าเกิดจากเชื้ออะดีโนไวรัส 3 ชนิดในสัดส่วนดังนี้ HAdV-8 พบมากที่สุดร้อยละ 80 ส่วนชนิด HAdV-3 และ HAdV-37 พบเท่าๆ กัน อย่างละประมาณร้อยละ 10 ของทั้งหมด โดยศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัส
โรคตาแดง เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาที่ติดเชื้อไวรัสติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตา ของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือ อาการเกิดได้ ภายใน 1-2 วัน สามารถติดต่อได้ง่ายมาก โดยการคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย และไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือ และใบหน้า ผู้ป่วยโรคตาแดงจะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมี สีแดงเรื่อๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักมีขี้ตามากจากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน การป้องกันทำได้โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ให้สะอาดอยู่เสมอไม่คลุกคลีใกล้ชิด และหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนให้สะอาดอยู่เสมอ
โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่ถ้าไม่รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
ติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้แก่ การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา น้ำมูกของผู้ป่วย หรือจากใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หรือจากแมลงวันแมลงหวี่ตอมตา
หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปตาอีกข้าง
ผู้ป่วยมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ถูกวิธี อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ ทำให้ปวดตา ตามัว
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อจากการสบตา จ้องตา ไม่ติดต่อทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน
การศึกษาระบาดวิทยาโมเลกุล พบว่าเกิดจากเชื้ออะดีโนไวรัส 3 ชนิดในสัดส่วนดังนี้ HAdV-8 พบมากที่สุดร้อยละ 80 ส่วนชนิด HAdV-3 และ HAdV-37 พบเท่าๆ กัน อย่างละประมาณร้อยละ 10 ของทั้งหมด โดยศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัส
โรคตาแดง เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาที่ติดเชื้อไวรัสติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตา ของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือ อาการเกิดได้ ภายใน 1-2 วัน สามารถติดต่อได้ง่ายมาก โดยการคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย และไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือ และใบหน้า ผู้ป่วยโรคตาแดงจะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมี สีแดงเรื่อๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักมีขี้ตามากจากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน การป้องกันทำได้โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ให้สะอาดอยู่เสมอไม่คลุกคลีใกล้ชิด และหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนให้สะอาดอยู่เสมอ
โรคผิวหนัง
โรคผิวหนังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ไม่แห้งเป็นเวลานาน
ในระยะแรกอาจมีอาการเท้าเปื่อย และเป็นหนอง ต่อมาเริ่มมีอาการคันตามซอกนิ้วเท้า และผิวหนังลอกออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผิวหนังอักเสบได้
ป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ และเช็ดให้แห้งเมื่อกลับเข้าบ้าน สวมใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น หากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ หรือเบตาดีน
โรคน้ำกัดเท้า และผื่นคัน โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต จะมีอาการคันจากเชื้อราที่มาจากการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานจนทำให้ราร้ายตัวนี้เจริญเติบโตไปตามซอกนิ้วเท้า โดยเชื้อราจะทำให้ผิวหนังลอกเป็นขุย เกิดผื่นที่เท้าผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนา พบบ่อยที่ซอกนิ้ว แต่อาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้า และเล็บได้ การรักษา และป้องกันทำได้โดยล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็คให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น และไม่ใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน
โรคผิวหนังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ไม่แห้งเป็นเวลานาน
ในระยะแรกอาจมีอาการเท้าเปื่อย และเป็นหนอง ต่อมาเริ่มมีอาการคันตามซอกนิ้วเท้า และผิวหนังลอกออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผิวหนังอักเสบได้
ป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ และเช็ดให้แห้งเมื่อกลับเข้าบ้าน สวมใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น หากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ หรือเบตาดีน
โรคน้ำกัดเท้า และผื่นคัน โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต จะมีอาการคันจากเชื้อราที่มาจากการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานจนทำให้ราร้ายตัวนี้เจริญเติบโตไปตามซอกนิ้วเท้า โดยเชื้อราจะทำให้ผิวหนังลอกเป็นขุย เกิดผื่นที่เท้าผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนา พบบ่อยที่ซอกนิ้ว แต่อาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้า และเล็บได้ การรักษา และป้องกันทำได้โดยล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็คให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น และไม่ใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน
โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรสิส
โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง พื้น ดินที่ชื้นแฉะได้นาน
เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอก หรือไชเข้าเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนาน หรืออาจติดเชื้อจากการรับประทานอาหารที่หนูฉี่รด
ช่วงน้ำท่วมมักจะเกิดการระบาดได้ในหลายพื้นที่ โรคนี้มักจะระบาดในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมากที่สุด ก็คือ ในช่วงน้ำลด เนื่องจากชาวบ้านต่างลุยน้ำ ย่ำโคลน เพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนและไปทำนา ทำให้เกิดบาดแผลจากกระจก แก้ว ตะปู และของมีคมอื่นๆ บาดแผลที่เท้าเกิดขึ้นได้ง่ายมากครับ อีกอย่างหนึ่งก็มักจะมีปัญหาเรื่องเท้าเปื่อยจากน้ำกัดเท้า เชื้อเล็ปโตสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย
มักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 4 -10 วัน โดยจะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะน่องและโคนขา หรือปวดหลัง บางคนมีอาการตาแดง อาจมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร หรือท้องเดิน หากมีอาการดังกล่าวหลังจากที่สัมผัสสัตว์ หรือลุยน้ำ ย่ำโคลน ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ในพื้นที่ทันที
ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้
ป้องกันโดยสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบอาบชำระร่างกายให้สะอาดโดยเร็วที่สุด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกทันที และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด ดูแลที่พักให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู เก็บกวาด ทิ้งขยะให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
โรคไข้ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซีส เป็นโรคติดต่อที่ระบาดจากโรคของสัตว์มาสู่คน โดยเฉพาะหนู ติดต่อมาถึงคนได้โดยเชื้อจะออกมากับปัสสาวะหนูแล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขังหรือพื้นที่ขึ้นแฉะ
โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง พื้น ดินที่ชื้นแฉะได้นาน
เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอก หรือไชเข้าเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนาน หรืออาจติดเชื้อจากการรับประทานอาหารที่หนูฉี่รด
ช่วงน้ำท่วมมักจะเกิดการระบาดได้ในหลายพื้นที่ โรคนี้มักจะระบาดในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมากที่สุด ก็คือ ในช่วงน้ำลด เนื่องจากชาวบ้านต่างลุยน้ำ ย่ำโคลน เพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนและไปทำนา ทำให้เกิดบาดแผลจากกระจก แก้ว ตะปู และของมีคมอื่นๆ บาดแผลที่เท้าเกิดขึ้นได้ง่ายมากครับ อีกอย่างหนึ่งก็มักจะมีปัญหาเรื่องเท้าเปื่อยจากน้ำกัดเท้า เชื้อเล็ปโตสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย
มักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 4 -10 วัน โดยจะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะน่องและโคนขา หรือปวดหลัง บางคนมีอาการตาแดง อาจมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร หรือท้องเดิน หากมีอาการดังกล่าวหลังจากที่สัมผัสสัตว์ หรือลุยน้ำ ย่ำโคลน ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ในพื้นที่ทันที
ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้
ป้องกันโดยสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบอาบชำระร่างกายให้สะอาดโดยเร็วที่สุด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกทันที และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด ดูแลที่พักให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู เก็บกวาด ทิ้งขยะให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
โรคไข้ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซีส เป็นโรคติดต่อที่ระบาดจากโรคของสัตว์มาสู่คน โดยเฉพาะหนู ติดต่อมาถึงคนได้โดยเชื้อจะออกมากับปัสสาวะหนูแล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขังหรือพื้นที่ขึ้นแฉะ
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น